“ออฟฟิศซินโดรม” โรคของคนทำงานยอดฮิต

ออฟฟิศซินโดรม เป็นอีกโรคที่เกิดจากการทำงาน สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานไม่เหมาะสม คนที่ทำงานออฟฟิศส่วนมากจะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน นั่งเขียนหนังสือ-รายงาน ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายให้มีการเคลื่อนไหวบ้าง ทำให้อวัยวะของร่างกายส่วนต่างๆเช่น ไหล่ ต้นคอ บ่า แขน ข้อมือ เอว หลัง ฯลฯ เกิดอาการปวดเมื่อยล้าซึ่งเป็นอาการของออฟฟิศซินโดรมที่ก่อให้เกิดความทรมานอย่างมาก 

สภาพแวดล้อมในที่ทำงานและพฤติกรรมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมเช่น นั่งหลังค่อม(งอ) นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ระดับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะทำงานสูงหรือต่ำเกินไป ระดับความสูงของจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะกับระดับสายตาทำให้ต้องมองในลักษณะเป็นมุมสูงขึ้นไป ระดับความเข้มของแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมทำให้สายตาต้องทำงานหนักกว่าปกติหรือเกิดอาการล้าของสายตาได้เร็วกว่าปกติ บางรายอาจมีอาการของหมอนรองกระดูกเคลื่อนด้วย ฯลฯ
วิธีป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม ทำได้โดยการเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่งทำงานเสียบ้าง ทำการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบ้างเป็นเวลาสัก 1-2 นาทีแล้วค่อยกลับไปนั่งทำงานต่อ การเปลี่ยนอิริยาบทอาจทำได้โดยการลุกขึ้นเดิน บิดลำตัว ยืดเส้นยืดสายหรืออะไรก็ได้ที่ทำให้ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ควรจัดโต๊ะทำงานสามารถนั่งทำงานได้อย่างสบาย นั่งหลังตรงได้ ระดับความสูงของเก้าอี้กับโต๊ะทำงานมีความพอดีกัน ตัวแป้นคีย์บอร์ดควรมีที่รองรับข้อมือ หากสามารถเลือกได้ให้เลือกจอคอมพิวเตอร์แบบแอลซีดี(LCD) แทนจอแบบ CRT จะช่วยถนอมสายตาได้ดีและไม่ทำให้ปวดศีรษะหรือเกิดอาการเพ่งสายตามาก เมื่อรู้สึกเมื่อยหรือล้าอย่าฝืนทำงานต่อให้ลุกจากโต๊ะทำงานสัก 1-2 นาที เดินไปหาเครื่องดื่มเย็นๆ ยืดเส้นยืดสาย บริหารกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ แขน หลัง และรอบๆ ดวงตา แล้วค่อยกลับมาทำงานต่อ 

ร่างกายของคนเราไม่ใช่เครื่องจักรกลที่จะทำงานหากรุ่งหามค่ำได้ตลอด 24 ชั่วโมง ควรรู้จักดูแลรักษาสุขภาพ หากเกิดเจ็บป่วยจาก “ออฟฟิศซินโดรม” ควรหยุดพักรักษาตัวและหาสาเหตุของโรคให้เจอแล้วแก้ไขอย่าให้เกิดซ้ำอีก วิธีการรักษาอย่างหนึ่งคือไคโรแพรคติก(Chiropractic) หากเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมบ่อยๆ ซ้ำๆ อาจนำไปสู่อาการของโรคที่เรื้อรังจะยิ่งเกิดอันตรายมากขึ้น อย่าลืมว่าคนเราไม่ใช่เครื่องจักรหากเกิดเสียหาย ชำรุดขึ้นมาจะหาอะไหล่มาเปลี่ยนไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย กันไว้ดีกว่าแก้

3 comments:

  1. น้อยคนนะคะที่จะไม่เป็น

    ReplyDelete
  2. This comment has been removed by the author.

    ReplyDelete
  3. คนทำงานสมัยนี้เป็นกันทั้งนั้น โรคยอดฮิตจิงๆ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะ

    ReplyDelete