ความเป็นมาของบัตรเครดิต

บัตรเครดิตคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักใช่ไหมครับ เพราะเป็นบัตรเอนกประสงค์สามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าได้โดยไม่ต้องใช้เงินสด แต่ต้องไปจ่ายกับธนาคารที่หลังหรือพูดกันแบบง่ายๆ ก็คือยืมมาจ่ายก่อนนั่นเอง  แต่คุณที่ใช้บัตรเครดิตอยู่เคยคิดกันไหมครับว่าบัครเครดิตมีที่มาที่ไปอย่างไรกัน

ใครจะเชื่อว่าบัตรเครดิตเริ่มต้นเกิดขึ้นจากนวนิยายเรื่อง “ย้อนอดีต” (Looking Backward) ของนายเอ็ดเวิร์ด เบลลามี (Edward Bellamy) ที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1888 ตามเนื้อเรื่องเป็นภาพฉากประชาชนในเมืองแห่งหนึ่งได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล ด้วยการรับบัตรเครดิตเพื่อนำมาจับจ่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ

ในปี ค.ศ.1900 โรงแรมแห่งหนึ่งได้นำความคิดของเบลลามีมาออกบัตรเครดิต ให้กับลูกค้าชั้นดี เพื่อนำไปจ่ายค่าบริการและอื่นๆ ของโรงแรม


ในปี ค.ศ.1914 บริษัทเยอเนอรัลปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น ออฟแคลิฟอร์เนีย ซึ่งปัจจุบันคือบริษัท โมบิลออยส์ จำกัด ได้ทำบัตรดังกล่าวให้กับลูกค้าและพนักงานของตนที่ได้รับเลือกสรรแล้ว และนำไปชำระค่าน้ำมัน ตอนนั้นบัตรเครดิตนี้จะมีลักษณะเหมือนกับเหรียญโลหะ

ปี ค.ศ.1950 นายแฟรงค์ แมคนามารา (Frank McNamara) ซึ่งเป็นนักธุรกิจเกิดลืมพกกระเป๋าเงินติดตัวไปทานอาหาร และไม่มีเงินจ่าย ต้องให้ภรรยานำเงินมาชำระให้ จึงคิดว่าถ้ามีบัตรพิเศษที่ใช้แทนเงินได้ ก็จะดี จากนั้นก็ปรึกษากับนายราล์ฟ ชไนเดอร์ (Ralph Schncider) ซึ่งเป็นทนายความ และได้สร้างบัตร ไดเนอร์สคลับ ขึ้นมาเพื่อใช้ในการซื้อสินค้าและบริการแทนการชำระเงินโดยตรง ภายหลังได้มีบริษัท อเมริกันเอกซ์เพรส ได้ออกบัตรเครดิต โดยมีวัตถุประสงค์ในครั้งแรกเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ต้องพกเงินสดเป็นจำนวนมาก โดยได้นำเสนอบัตรที่สามารถนำไปขึ้นเงินได้ที่ธนาคารต่างๆ

ในปี ค.ศ.1951 ปีถัดมา ธนาคารแห่งชาติแฟรงกริน ในนิวยอร์ก เป็นธนาคารแห่งแรกที่ออกบัตรเครดิตให้กับประชาชนซึ่งเป็นชนิดที่นิยมใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

บัตรเครดิตถ้าใช้ให้เป็นก็มีประโยชน์ ไม่จำเป็นจะต้องพกเงินสดมาก มีส่วนลด และแต้มสะสม อย่างไรก็ตาม ผมเองก็อยากจะเตือนทุกคนก่อนที่จะใช้บัตรเครดิตทุกครั้งว่า ตอนรูดมันรูดง่ายอยากได้อะไรก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงตอนสิ้นเดือนที่จะต้องจ่้ายด้วยนะครับเพระาเรายืมเงินคนอื่นมาใช้ก่อน ถ้าไม่จ่ายตรงเวลาก็ต้องเสีัยดอกเบี้ยเป็นธรรมดา

1 comment:

  1. ความรู้ใหม่ ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

    ReplyDelete