เกมกับความรุนแรง

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิสยามกัมมาจล และมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย ประเทศแคนาดา ร่วมกันทำวิจัยเรื่องการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชิงบวกในเยาวชนของวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาพบว่า ชนิดของเกมที่เล่นจะมีผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น โดยหากเด็กวัยรุ่นเล่มเกมที่มีความรุนแรงก็มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมรุนแรง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเด็กในวัยนี้ ยังไม่สามารถแยกแยะระหว่างโลกของความเป็นจริงกับโลกของเกมได้

"ที่เป็นเช่นนี้ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีสมองส่วนหน้า (Limbic brain) กำลังเจริญเติบโตและจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 20 ปี ดังนั้นถ้าพ่อแม่มีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องให้กับเด็กในช่วงที่สมองส่วนหน้ากำลังพัฒนา ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ก็จะมีส่วนในการพัฒนาการก่อรูปของสมอง ระบบความคิดค่านิยม ทัศนคติ และนำไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมเมื่อวัยรุ่นเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่" ดร.ประภาพรรณ จูเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการวิจัยการพัฒนาการใช้ ICT เชิงบวกในเยาวชน มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุ


ผลการวิจัยครั้งนี้จึงให้ข้อสรุปว่า คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเกมที่เหมาะสมแก่ลูกวัยรุ่น และไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่มเกมที่มีการฆ่าฟัน มีการใช้ภาษาไม่สุภาพ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

เพราะเด็กจะซึมซับเอาสิ่งเหล่านี้ไว้ แล้วมีพฤติกรรมเลียนแบบการกระทำของตัวละครในเกมได้ แตกต่างจากการเลือกเกมที่ส่งเสริมทักษะทางวิชาการ เช่น คณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมซึ่งจะช่วยให้พวกเขามีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในภายภาคหน้า

No comments:

Post a Comment